กระต่ายน้อยน่ารักชมพู

นิทานเมฆน้อยลอยละลิ่ว

นิทานเมฆน้อยลอยละลิ่ว เทคนิคการเชิดหุ่นและมีเทคนิคอีกมากที่กลุ่มของพวกเรามาใช้ในการเล่านิทานกันค่ะ เช่นมีการใช้แสงและชักดึงอุปกรณ์ในการเล่า มีเพลงประกอบเพื่อสร้างความสนุกสนานและดึงดูดความสนใจตลอดเวลา มีการถามความคิดเห็นเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้คิดและพัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็กด้วยค่ะ การเล่านิทานครั้งนี้ก็มีปัญหาเรื่องของพื้นที่แสดงคับแคบ จึงส่งผลถึงการจัดทำฉากการแสดงและการแสดงยังขาดความแม่นยำอยู่เหมือนกันค่ะ แต่พวกเราก็แก้ไขปัญหาผ่านไปได้ พวกเราจะนำที่อาจารย์ติมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นค่ะ พวกเราก็ภาคภุมิใจในผลงานการแสดงนิทานครั้งนี้ค่ะ

สรุปวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

วันที่13กุมภาพันธ์ 2552วันนี้เป็นสุดท้ายที่มีการเรียนการสอนวิชานี้ อาจารย์ได้สรุปดังนี้ แนวคิดพื้นฐานของการสอนภาษา - ครูจะต้องทราบว่าเด็กของเราเรียนรู้ - เชื่อว่าเด็กทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ - เด็กจะเรียนได้ดีที่สุด ถ้าเราสอนแบบ Whoe Language คือ . สอนอย่างเป็นธรรมชาติ . สอนอย่างมีความหมายต่อเด็ก เช่น เริ่มจากคำศัพท์ที่เด็กรู้จัก คุ้นเคย . สอนให้เด็กสามารถนำ - เด็กจะเรียนรู้ได้ดีทีสุดมาจากการตัดสินใจ นั่นหมายถึงพร้อมที่จะรับรู้ในสิ่งที่เด็กอยากรู้ ครูจะต้องทำอย่างไรให้เด็กอยากจะเรียนซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุด - ไม่ให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองกำลังถูกแข่งขัน - ครูต้องสอนทักษะไปพร้อมๆกันและเกี่ยวข้องกัน เพราะดีที่สุกคือการสอนบนพื้นฐานของธรรมชาติ - ครูจะต้องทำให้เรียนภาษาของเด็กเป็นสิ่งที่น่าสนใจสนุกสนาน เช่น สื่อ เทคนิคการสอน วิธีการสอน เป็นต้น ควรสอนภาษาเด็กอย่างไร - เริ่ม - การประเมินโดยการสังเกต ควรที่จะมีแบบสังเกต . สามารถจำเนื้อเรื่อง . สามารถเข้าใจความหมาย บอกซ้ำ เล่าได้ - เสนอความคิดต่อผู้ปกครอง - ทำอย่างไรพ่อแม่จึงจะเข้าใจวิธีที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ของลูกได้ - ส่งเสริมให้เด้กเรียนอย่างกระตือรือร้น- สร้างความรู้สึกประสบความสำเร็จ ช่วยเหลือ ให้กำลังใจ - อ่านให้เด็กฟังจากหลายๆแหล่งเช่น นิทาน บทความ รายการอาหาร- จัดประสบการณ์อ่าน และส่งเสริลงมือกระทำ - ส่งเสริมให้เด็กกล้าลองผิด ถูก- พัฒนาทางด้านจิตพิสัย และให้เด็กรู้สึกรักในภาษา ตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมการพูด - อธิบายถึงภาพที่เห็น - ทำท่าประกอบการพูด - เล่านิทาน - ลำดับเรื่องตามนิทาน - เรียกชื่อตามนิทาน คือ ตัวละคร - เรียกชื่อและอธิบายสิ่งของ- จำและอธิบายสิ่งของ - อธิบายขนาดและสี ตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และเขียน - พ่อแม่ให้เด็กสังเกต- ชักชวนลูกให้อ่านเครื่องหมายจราจร - ชักชวนให้ลุกอ่านหนังสือพิมพ์ - ชักชวนให้เขียนคำอธิบายภาพของครอบครัวและบันทึกคำพูดของลูก - เขียนส่วนผสมอานหารและลองปรุง - ให้เด็กรู้จักการเขียน เช่น เขียนโน้ต - ให้ลูกมีส่วนร่วมในการอ่านจดหมาย - จดรายการส่งของ การฟัง - ฟังประกอบหุ่น - ฟังและแยกเสยง - ฟังเยงคำคล้องจอง - ฟังอย่างสร้างสรรค์และวิจารย์ - ฟังแล้วทำตามคำสั่ง ขั้นตอนการอ่านและการเขียน ขั้นที่1 - คาดเดาภาษาหนังสือ - แก้ไขความผิดพลาดของความหมายด้วยตนเอง - พยายามใช้ประสบกาณณ์จากการพุดกลับมาเป็นภาษาที่ใช้อ่าน ขั้นที่2 - แก้ไขข้อผิดพลาดในประโยคด้วยตนเอง - ตระหนักว่าตัวหนังสือมีความคงที่ - สามารถชี้บอกคำที่เหมือนกันกันซึ่งอยู่ในหน้าเดียวกัน - สามารถมองตามตัวอัการบนแผ่นกระดาขนาดใหญ่ได้ ขั้นที่3 - จำคำที่คุ้นเคย - คาดคะเนความหมายจากบริบท -ใช้วิการอ่านไปในทิศทางเดียวกันจนเป็นนิสัย -สามารระบุบอกชื่อตัวอักษรได้เกือบหมด ขั้นที่4 - เข้าใจเกี่ยวกับ "การเริ่มต้น" และการลงท้าย เมื่อนำมาใช้ในการเดา -ใช้เสียงช่วงต้นของคำในการเดาคำใหม่ เช่น ก กก ก กระดาษ ก กระดาน -ใช้คำที่รู้มาแต่งประโยช์ ขั้นที่5 -ใช้เสียนงเริ่มต้นและเสียงควบกล้ำ-สามารรู้ได้ว่าคำประบด้วยตัวอะไรบ้าง การเขียน ขั้นที่ 1 -ขีดเขี่ย ขั้นที่2 - เส้นเริ่มยาว ขั้นที่3 - เขียนเป็นรูปร่างแต่ไม่เป็นตัวอักษร ขั้นที่4 - เขียนตัวอักษรและสัญลักษณ์ ขั้นที่5 - เขียนตัวสะกด ดิฉันจะนำความรู้ทั้งหมดที่เรียนมาวิชานี้ไปประยุกต์ใช้ในการสอนในอนาคตให้ได้อย่างดีค่ะ

สื่อการจัดประสบการณ์ทางด้านภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

สื่อการจัดประสบการณ์ทางด้านภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย โดยวิธีการทำสื่อง่ายจากปฏิทินที่ใช้แล้วมาเพิ่มเติมสีสันสวยงามและความรู้ทางภาษาของหน่วยต่างๆก็มีคุณค่าสำหรับเด็กๆแล้วค่ะ

งานศิลปะของเด็กปฐมวัย

งานศิลปะที่ทำโดยวัสดุจากธรรมชาติ ที่สามารถนำมาพิมพ์ภาพและนำกระดาษมาลงสีเทียนใช้ความร้อนนิดหน่อยก็เกิดภาพที่มีมิติขึ้นมาค่ะ และวันพุธที่27เราได้ทำหุ่นมือกันค่ะและเราก็นำแกนกระดาษทิษชูมาประดิษฐ์เป็นแมงมุมค่ะ เราเรียนวันนีได้ไอเดียการประดิษฐ์เศษวัสดุอีกแล้วพบกับไอเดียในสัปดาห์หน้านะค่ะ

กิจกรรมสร้างสรรค์ของอนุบาล2โรงเรียนอนุบาลสามเสน

วันพุธที่14มกราคม2552พวกเราได้ไปดูงานที่โรงเรียนอนุบาลสามเสน ดิฉันและเพื่อนๆในกลุ่มได้มีโอกาสไปดูการเรียนการสอนของอนุบาล2ค่ะ เราได้ดูการจัด กิจกรรมสร้างสรรค์งานศิลปะของเด็กๆมีการจัดโต๊ะ4โต๊ะมีงานปั้น ง่านประดิษฐ์ งานวาดภาพด้วยสีเทียนและสีน้ำ เด็กแต่ละคนสามารถเลือกทำได้ตามอิสระโดยกิจกรรมนี้ต่อเนื่องจากกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ เด็กทุกคนมีความสุขมากในการทำกิจกรรม คุณครูจะคอยดูอยู่ห่างๆ เด็กบางคนก็จะทำครบทุกโต๊ะ พอเด็กเขาเห็นพวกเราจะคอยมาชักถามว่าคำถามมากมายและจะเล่าเรื่องต่างๆให้ฟังค่ะ มีเด็กคนหนึ่งเขาให้ดิฉันปั้นหมาป่าให้เขาหน่อย พอได้ปั้นแล้วมองเด็กๆคนอื่นเขาปั้นเก่งกว่าตัวดิฉัน รู้สึกอายเด็กมากๆเมื่อมีเด็กมาบอกว่าสิ่งที่เราปั้นนั้นคือควาย อยากมีโอกาสไปดูกิจกรรมต่างๆอีกจังเลย แค่เวลานิดเดียวก็มีความสุขแล้วค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2552

ภาษาแบบองค์รวม

สวัสดีค่ะเรามาเรียนต่อจากสัปดาห์ที่แล้วกันนะค่ะ เมื่อวันพุธที่ผ่านมาพวกเราไม่ได้มีการเรียนการสอนกัน ก็มาเรียนกันวันศุกร์ที่19ธันวาคม2551มีเพิ่มนิดหน่อย อาจารย์สอนไปก็ทำบล็อกไป
ลักษณะสำคัญและกิจกรรมทางภาษาแบบองค์รวม
อ่าน – เขียน
- เน้นความเข้าใจเนื้อเรื่องมากกว่าการท่องจำตัวหนังสือผ่านการฟังนิทาน เรื่องราวสนทนาโต้ตอบ คิดวิเคราะห์ร่วมกับครูหรือผู้ใหญ่
- การคาดคะเนโดยการเดาในขณะอ่าน เขียน และสะกด เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ในการเรียนรู้ภาษาธรรมชาติ โดยไม่จำเป็นต้องอ่านหรือสะกดถูกต้องทั้งหมด
- มีหนังสือ วัสดุสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ให้เด็กเป็นผู้เลือก เพื่อได้รับประสบการณ์ทางภาษาอย่างหลากหลาย
- ครูแนะนำและสอนอ่านในกลุ่มที่ไม่ใหญ่มากโดยใช้หนังสือเล่มใหญ่ที่เห็นชัดเจนทั่วกัน
-ให้เด็กแบ่งกลุ่มเล็กๆผลัดกันอ่านด้วยการออกเสียงดัง ๆ
- ครูสอนการอ่านอย่างมีความหมายด้วยความสนุกสนานในกลุ่มย่อย สอนให้รู้จักวิธีการใช้หนังสือการเปิดหนังสืออย่างถูกต้อง
- เปิดโอกาสให้เด็กพูดคุย ซักถามจากประสบการณ์เดิมซึ่งครูสามารถประเมินความสามารถการอ่านของเด็กแต่ละคนไปด้วยพร้อมกัน
-ให้เด็กแต่ละคนมีโอกาสเลือกอ่านหนังสือที่ชอบและยืมไปนั่งอ่านเงียบ ๆ
-ให้เด็กได้เขียน ขีดเขี่ย วาดภาพ ถ่ายทอดสิ่งที่เรียนรู้จากประสบการณ์ ความประทับใจ อย่างอิสระ
- ครูตรวจสอบสภาพการเขียนของเด็กแต่ละคนโดยการให้เด็กเล่าสิ่งที่เขียนหรือวาดให้ครูฟัง โดยครูอาจแนะนำการเขียนที่ถูกต้อง เพื่อให้เด็กพัฒนาการเขียนได้ด้วยตัวเด็กเองทุกวันโดยไม่มุ่งแก้คำผิดหรือทำลายความอยากเขียนของเด็ก
ความเชื่อมโยงภาษาพูดกับภาษาเขียน
ภาษาพูดกับภาษาเขียนมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันโดย ความรู้เกี่ยวกับคำจะเพิ่มพูนมากขึ้นเมื่อเราพูด เล่า สนทนาโต้ตอบกัน
เราอ่านจากหนังสือประเภทต่าง ๆ อ่านจากป้ายในทุกหนทุกแห่งที่สนใจ จะทำให้เด็กมีโอกาสเรียนรู้เรื่องราวต่างๆไปพร้อมๆกันและช่วยให้เด็กมี ความรู้เพิ่มพูนขึ้น
ทักษะการสนทนาจะพัฒนามากขึ้น ด้วยการพูดคุยกับพ่อแม่ เพื่อน ครู ในสถานการณ์หรือเรื่องราวที่มีความสัมพันธ์กับตัวเด็ก เมื่อเด็กได้รับโอกาสในการแสดงออกโดยการพูด เด็กจะได้เรียนรู้จากสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง จากสิ่งที่ผู้ใหญ่อ่านให้ฟัง ซึ่งเด็กนำไปใช้เพื่อการสื่อสาร หรือแสดงความรู้สึกนึกคิดออกมาในการดำเนินชีวิตประจำวันซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรู้ความหมายในภาษาเขียน
ขั้นของพัฒนาการในการอ่าน ขั้นแรก คำแรกที่เด็กอ่านเป็นคำที่มีความหมายต่อชีวิตเด็ก เช่น ชื่อ ( คน,อาหาร,สิ่งที่อยู่รอบตัว )พัฒนาการในขั้นนี้ กู๊ดแมนเรียกว่าเป็น “รากเหง้าของการอ่าน เขียน”
ขั้นที่สอง ผู้เรียนจะผูกพันกับตัวอักษรเพิ่มขึ้น เรียกชื่อได้หรืออ่านได้ถูก และเรียนรู้ที่อยู่ (ตำแหน่ง) ของตัวอักษร

ขั้นที่สาม เด็กแยกแยะการใช้ตัวอักษรตลอดจนระเบียบแบบแผนของตัวอักษรจะเริ่มอ่านหรือเขียนจากซ้ายไปขวาซึ่งเป็นพื้นฐานของพัฒนาการด้านการอ่านในเด็กปฐมวัย ในขณะเดียวกันเด็กเริ่มรู้จักรูปร่างและระบบของตัวอักษรมากขึ้น
ขั้นสุดท้าย ระบบของตัวอักษร คือเป้าหมายปลายทางสุดท้ายของการอ่าน
จากนั้นอาจารย์ก็ตรวจเรื่องงานวิจัยของแต่ละคนค่ะ ดีนะที่หาได้แล้วรู้สึกดีแต่ก็กลัวจะเรื่องซ้ำกับเพื่อนๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

งานศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย

การเล่านิทาน

การเล่านิทานเรื่องเจี๊ยกน้อยเลิกเกเรให้แก่เด็กอนุบาล2 เด็กๆสนใจฟังกันมากค่ะ เด็กก็นั่งฟังนิทานอย่างตั้งใจ มีเด็กบางคนสงสัยก็จะซักถามอยู่ตลอดค่ะและพอถามคำถามอะไรเด็กก็ช่วยกันตอบแสดงความคิดเห็น ดิฉันรู้สึกดีใจมากที่เด็กสนใจฟังนิทานที่ตัวเองเล่า จากการเล่านิทานได้ให้คุณครูประเมินผลก็ต้องปรับปรุบเรื่องการพูดบอกชื่อผู้แต่งนิทานด้วยค่ะดิฉันจะนำสิ่งต้องปรับปรุงไปพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นต่อๆไปค่ะ